วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 4บทความโครงงาน


ปัญหาทันตกรรมจัดฟันเถื่อน!!
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดฟัน

             การจัดฟันเป็นหนึ่งในวิธีรักษาทางทันตกรรมซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันเก ฟันไม่สบกัน ได้แล้ว ยังช่วยปรับโครงหน้าของผู้จัดฟันให้เข้ารูป การจัดฟันจึงช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้ดียิ่งขึ้นได้

การจัดฟันคืออะไร?
             การจัดฟันเป็นวิธีช่วยแก้ไขปัญหาฟันที่มีการเรียงตัวผิดปกติ ไม่สมดุล ให้เรียงตัวกันอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของฟัน โดยการใช้เครื่องมือภายนอกและภายในช่องปาก เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการปรับแต่งโครงสร้างของฟันใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปกติแล้วการเคลื่อนตัวของฟันจะมีอัตรา 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เดือน 

ทำไมต้องจัดฟัน?
             เนื่องจากฟันของแต่ละคนมีขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวที่แตกต่างกัน โดยมีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด บางครั้งฟันอาจเรียงตัวไม่เหมาะสมจนเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก เช่น ทำความสะอาดฟันลำบาก มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว เป็นต้น การจัดฟันจะช่วยทำให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น ช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพรวมถึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดฟันผุ หรือโรคเหงือกได้ด้วย 
นอกจากนี้การจัดฟันยังช่วยแก้ปัญหาช่องปากอื่นๆ ได้อีก เช่น เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือช่วยในเรื่องภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยทันตแพทย์จะใส่เครื่องมือในช่องปากเพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นและไม่ถูกอุดกั้นขณะหลับ เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้น หรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนลงไปอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ

ใครควรจัดฟันบ้าง?
              ผู้ที่มีปัญหาฟันเก ฟันซ้อน หรือฟันยื่นจนไม่สบกัน ปัญหาเหล่านี้จะทำให้ฟันสึกกร่อน เสียหาย หรืออาจทำร้ายกล้ามเนื้อกรามได้ บางกรณีความผิดปกติดังกล่าวอาจพัฒนาจนส่งผลกระทบต่อรูปร่างของใบหน้า แต่ทั้งนี้ต้องให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัย โดยประเมินจากประวัติการรักษาทางการแพทย์ หรือทันตกรรม การตรวจในคลินิก แบบฟันของบุคคลคนนั้น และฟิล์มเอ็กซเรย์
ปัญหาของฟันที่ทำให้ต้องมีการจัดฟัน
·         ฟันหน้ายื่น เป็นสาเหตุที่พบเห็นได้มากที่สุด
·         ฟันซ้อน มักเกิดกับผู้ที่มีโครงกรามแคบมัก ทำให้พื้นที่ในช่องปากไม่กว้างพอสำหรับฟัน ส่งผลให้ฟันภายในช่องปากซ้อนทับกัน
·         ฟันคุด เป็นฟันแท้ที่ไม่งอกออกมา หรืออยู่ในตำแหน่งผิดที่ผิดทาง หากงอกขึ้นมาอาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นๆ ได้
·         ฟันไม่สมมาตรกัน บางคนมีจุดศูนย์กลางของฟันบนและฟันล่างไม่ตรงกันทำให้ฟันทั้งสองแถวไม่สามารถสบกันได้สมบูรณ์จนทำให้ดูเหมือนฟันเก และมีปัญหาด้านการบดเคี้ยว
·         ฟันสบลึก ฟันแถวบนเลยหน้าฟันกรามมากเกินไปจนบังฟันล่างมิด
·         ฟันสบกลับ ฟันแถวบนสบอยู่ข้างหลังฟันล่าง


·         ฟันสบเปิด คือการที่ฟันบนและฟันล่างไม่สบกันแม้จะปิดปากแล้ว โดยภาวะเช่นนี้มักเกิดมาจากการที่เด็กดูดหัวแม่มือตัวเองมาเป็นเวลานาน ๆ


การจัดฟันมีกี่แบบ และประเภทของการจัดฟัน




 1.การจัดฟันแบบโลหะธรรมดา (bRACKET BRANCE)



       Metal Bracket หรือการจัดฟันแบบยางสี เป็นการจัดฟันแบบโลหะทั่วไปที่อุปกรณ์ติดแน่นบนฟัน ซึ่งเราพบเห็นกันบ่อยๆมีสีสันสดใสด้วยยางจัดฟัน ราคาไม่สูงมากนัก แต่ต้องพบทันตแพทย์ทุกๆเดือนเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือจัดฟัน ระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับปัญหาฟันของแต่ละบุคคล




2.จัดฟันแบบดามอน (DAMON SYSTEM)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                                                                    https://www.cosdentbyslc.com/cosdentbyslc-services/orthodontic/choosing-orthodontics/

     หากคุณเป็นคนที่กลัวความเจ็บปวดจากการจัดฟัน การจัดฟันแบบดามอนเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ ด้วยเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะของเครื่องมือแบบบานพับและลวดชนิดพิเศษที่ทำให้การเคลื่อนฟันเป็นไปอย่างนุ่มนวล ระคายเคืองช่องปากน้อยกว่า และสามารถทำความสะอาดฟันได้ง่ายกว่าเพราะไม่มียางรัด
      เครื่องมือเหมือนการจัดฟันชนิดโลหะ และที่สำคัญการจัดฟันดามอนทยังช่วยให้ไม่ต้องพบแพทย์บ่อยเหมือนการจัดฟันชนิดโลหะติดแน่นด้วยค่ะ ส่วนราคาการจัดฟันแบบดามอนจะมีราคาสูงกว่าการจัดฟันแบบโลหะติดแน่น เพราะการจัดฟันแบบดามอนให้สิ่งที่คุ้มค่ากว่าคือเวลาในการจัดที่น้อยลง และยังสบายกว่าเมื่อต้องเทียบกันระหว่างเครื่องมือติดฟัน โลหะยึดติด กับ แบบดามอน


3.การจัดฟันแบบใส หรือการจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ

     การจัดฟันด้วยเครื่องมือถอดได้แบบใส 
แบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ

    3.1 จัดฟันใสด้วยเครื่องมือที่ถอดได้ หรือ จัดฟันแบบใส ( Clear Aligner )

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                                                                 https://www.cosdentbyslc.com/cosdentbyslc-services/orthodontic/choosing-orthodontics/
การจัดฟันใส (Clear Aligner) จะเหมาะกับกลุ่มประเภทคนที่มีปัญหาเรื่องแนวฟันดังนี้ 
1. เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาแนวฟันไม่เรียงเป็นระเบียบแบบเล็กน้อย
2. เหมาะกับผู้ที่เคยจดฟันมาก่อน แล้วไม่ค่อยได้ใส่รีเทนเนอร์
      ข้อดีของการจัดฟันใส เคลียร์ อไลน์เนอร์ คือ การจัดฟันใสนี่ ตามชื่อเลยว่า เครื่องมือจัดฟันมีความใส ทำให้คนรอบข้าง แถบจะมองไม่เห็นอุปกรณ์จัดฟัน ว่าง่ายๆคือพรางตา และสามารถยังสามารถทำให้การรับประทานอาหารระหว่างจัดฟันอยู่นั้น ยังคงได้รับอรรถรสที่ดีขึ้นด้วย เพราะเมื่อหิวก็สามารถถอดออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร รวมถึงการแปรงฟันอีก โดยมีข้อสำคัญคือจะต้องมาพบแพทย์ทุกเดือน ตามวันนัดที่ได้รับไป เพื่อให้คุณหมอตรวจเช็คการเคลื่อนที่ของฟันและปรับเครื่องมือ 
การจัดฟันประเภทนี้มีราคาสูงกว่าการจัดฟันแบบโลหะ (metal braket) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาฟันของแต่ละบุคคลด้วย 

3.2 จัดฟันใส(อินวิสไลน์)ด้วยเครื่องมือที่ถอดได้แบบ Invisalign

  Invisalign นับว่าเป็นเทคโนโลยีการจัดฟันใสที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งดารานักแสดงมักจะเลือกการจัดฟันแบบนี้
    คุณสามารถเห็นผลลัพธ์ของการจัดฟันได้ตั้งแต่ตอนที่มาปรึกษาจัดฟัน ข้อดีของการจัดฟันใสแบบ Invisalign นอกจากความสะดวกสบายแล้ว ยังมองไม่เห็นเครื่องมือจัดฟัน
    สามารถถอดออกมาตอนรับประทานอาหารหรือทำความสะอาดฟัน ไม่ต้องมาพบแพทย์บ่อยเหมือนการจัดฟันชนิดอื่น และลดโอกาสการเกิดปัญหาฟันผุขณะที่จัดฟันอีกด้วย การจัดฟันแบบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลามาพบแพทย์ หรือไม่ต้องการเครื่องมือจัดฟันที่ติดแน่นบนผิวฟัน ส่วนราคาการจัดฟันชนิดนี้มีราคาสูงกว่าการจัดฟันประเภทอื่นๆ เนื่องจากเป็นการทำโดยแล็ปที่อเมริกาทำให้มีราคาที่สูงกว่า รวมถึงคุณสมบัติที่ได้กล่าวมาในข้างต้น

การจัดฟันแฟชั่นเป็นอย่างไร ?
     เนื่องจากการจัดฟันโดยทันตแพทย์มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หลายคนจึงเลือกใช้วัสดุจัดฟันที่ทำขึ้นมาเลียนแบบซึ่งอาจหาซื้อได้จากร้านค้าออนไลน์ ตลาดนัด หรือคลินิกจัดฟันแฟชั่นที่ผิดกฎหมาย โดยการจัดฟันแฟชั่นที่พบได้ทั่วไปมีหลายลักษณะ ร้านจัดฟันแฟชั่นบางแห่งอาจใช้เครื่องมือแบบติดแน่นเป็นโลหะทรงสี่เหลี่ยมที่มีร่องสำหรับใส่ลวดและคล้องยางสีต่าง ๆ คล้ายอุปกรณ์จัดฟันจริง กระทั่งใช้อุปกรณ์แบบถอดได้ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องมือคงสภาพฟันหลังการจัดฟัน หรืออาจดัดแปลงวัสดุใช้งานทั่วไปที่ไม่ใช่อุปกรณ์ทางทันตกรรมมาใช้จัดฟัน
ตัวอย่างวัสดุที่ถูกนำมาดัดแปลงเพื่อใช้จัดฟันแฟชั่น มีดังนี้
  • หนังยาง หรือยางรัดผม
  • ไหมขัดฟัน
  • ลวดหนีบกระดาษ
  • เส้นลวดขนาดเล็ก
  • ลูกปัด
  • วัสดุอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐานการจัดฟันตามปกติ
อันตรายจากการจัดฟันแฟชั่น
      ผู้ที่ให้บริการจัดฟันแฟชั่นมักเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางทันตกรรม โดยอาจไม่เตรียมความพร้อมในช่องปากให้ผู้รับบริการก่อนจัดฟัน เช่น ไม่อุดฟันซี่ที่ผุ ไม่ขูดหินปูน เป็นต้น และอุปกรณ์หรือวัสดุจัดฟันที่ใช้ก็อาจไม่สะอาด ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากตามมาได้ ดังนี้
อาการแพ้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดฟันแฟชั่นอาจไม่มีคุณภาพและปนเปื้อนสารเคมี เช่น สารปรอท สารตะกั่ว สารหนู หรือแคดเมียม เป็นต้น ซึ่งเมื่อสารดังกล่าวสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมากก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
อักเสบและติดเชื้อ อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดและไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ และวัณโรค เป็นต้น รวมถึงเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ที่ติดสะสมอยู่รอบ ๆ วัสดุจัดฟันก็อาจทำให้ฟันผุติดเชื้อ เป็นโรคเหงือกอักเสบหรือมีกลิ่นปากได้
ฟันหรือเหงือกเสียหาย อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจบาดหรือกดกระพุ้งแก้มและเหงือกจนเกิดเป็นแผลหรือแผลเรื้อรังจนเสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปากได้ ส่วนการปรับแต่งลวดภายในช่องปากโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ก็อาจเกิดแรงกดที่ตัวฟันมากเกินไปจนทำให้ปวดฟันมาก ฟันเคลื่อนผิดตำแหน่ง ฟันตายจนเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นรากฟันละลายและต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป
อันตรายอื่น ๆ เนื่องจากการจัดฟันแฟชั่นเป็นการนำวัสดุต่าง ๆ มาใช้อย่างผิดจุดประสงค์ หรือเป็นการนำวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้จัดฟัน อีกทั้งผู้ให้บริการเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางทันตกรรม จึงอาจทำให้อุปกรณ์จัดฟันหลุดลงคอหรือหลอดลม ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การจัดฟันแฟชั่นอันตรายถึงชีวิต!!


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบงานที่ 3 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

สรุป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์: กรณีศึกษาและเนื้อหา 8 เรื่องที่ชาวเน็ตต้องรู้ 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


       พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2
      สำหรับคนที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือทำงานเกี่ยวกับโลกออกไลน์ต้องพึงรู้ไว้เลยค่ะ เพราะหากใช้ไม่ระวัง เราอาจจะเผลอทำผิดกฎหมายได้ วันนี้เราเลยมาฟื้นความจำอีกครั้ง มาดูกันสักหน่อยว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร และมีเรื่องอะไรที่ชาวเน็ตอย่างเราไม่ควรทำ รู้เอาไว้ เราจะได้ไม่ทำผิดค่ะ

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร

          พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้

คลิปอธิบายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560




13ข้อต้องรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พรบคอมพิวเตอร์60 13ข้อ

กรณีศึกษา: การทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

         หลังจากมีการประกาศใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 ก็มีเคสที่เข้าข่ายกระทำความผิดพ.ร.บ.ออกมาให้เห็น ตัวอย่างเช่น
          เคสแรก เป็นเคสที่ออกข่าวอย่างโด่งดังเช่นกัน เป็นกรณีที่มีชายหนุ่มคนหนึ่งถ่ายรูปตึกที่มีลักษณะเอนๆ พร้อมโพสต์ข้อความประมาณว่า ตึกทรุดตัว ลงบนเฟสบุ๊ค เลยทำให้เกิดเป็นประเด็นที่หลายเอาตกอกตกใจไปกันใหญ่ แต่ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่า ตึกที่เห็นนั้นเป็นเพียงดีไซน์ของตึกที่ตั้งใจจะให้เอนแบบนั้นอยู่แล้ว เลยทำให้เจ้าของโพสต์ถูกตำรวจเรียกสอบสวน เพราะเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 (2) นำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จก่อให้เกิดความตื่นตระหนก
         อีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็สามารถช่วยคุ้มครองผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตได้ด้วย อย่างเช่นกรณีคดีของคุณบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44
ซึ่งคุณบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องความเป็นธรรมต่อศาลว่า ปัจจุบันได้มีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แล้ว โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ผลก็คือ อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
"จะเห็นได้ว่า เริ่มมีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กันอย่างจริงจัง และมีการปรับใช้ให้ตรงตาม พ.ร.บ.ที่แก้ไขไม่ใช่แค่จับกุมผู้ทำผิด แต่ยังคุ้มครองผู้ที่ไม่มีความผิดในพ.ร.บ.ฉบับที่2 ด้วย"

8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

เรามาดูกันต่อกันค่ะว่า แล้วข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)

พรบ คอมพิวเตอร์ โดนแฮก                                     https://contentshifu.com/computer-law/
หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
บทลงโทษ
  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ
บทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แนะนำ
    แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตร 12 หรือเข้าถึงระบบ ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ จะต้องได้รับโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ 2 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท


3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ
บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แนะนำ
    การทำการตลาดออนไลน์ที่ดี ควรนึกถึงจิตใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญค่ะ หากอยากส่งอีเมล ก็ควรที่จะถามความยินยอมจากลูกค้าก่อนว่าเขาต้องการรับข่าวสารจากเราไหม หรือไม่ก็หันมาทำคอนเทนต์ดีๆ อย่าง Inbound Marketing ที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหาคุณได้ด้วยความเต็มใจค่ะ
หรือหากอยากทราบเทคนิคการขายบนโลกออนไลน์ที่แตกต่างและได้ผล ลองดูบทความทิ้งเทคนิคการขายแบบเดิมๆ เริ่มต้นวิธีใหม่ๆ และทำกำไร 1 ล้านใน 24 ชั่วโมง

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)

โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท


5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย


6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ
  • โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
  • โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
  • โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
  • เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )
บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)


7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)

กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
แนะนำ
    ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี


8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)

ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
สรุปพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ คอมพิวเตอร์2560 (ฉบับเต็ม)